วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณธรรม 12 ประการ



ค่านิยมหลักของคนไทย



ขอบคุณข้อมูล https://www.youtube.com/watch?v=KpJnjHxI8LI


ค่านิยมหลักของคนไทย
      ในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ   (คสช.) สัปดาห์ที่ ๗ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา   หัวหน้า คสช. ได้กล่าวว่า “น่าจะกำหนด “ค่านิยมหลักของคนไทย” ขึ้น   เพื่อสร้างประเทศไทยให้เข้มแข็ง ” ซึ่งได้รวบรวมไว้ ๑๒ ประการ   ดังนี้



๑) มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติในปัจจุบัน



๒) ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม


๓) กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์


๔)   ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทางตรงและทางอ้อม


๕)   รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม


๖) มีศีลธรรม รักษาความสัตย์   หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน


๗) เข้าใจ เรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง


๘)   มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่


๙) มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


๑๐)   รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จัดอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็นมีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่าย ขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อมโดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี


๑๑) มีความเข้มแข็ง ทั้งร่างกายและจิตใจไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา


๑๒) คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และต่อชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

จากหลักคุณธรรม 12 ประการ



ท่านว.วชิรเมธี เผย ค่านิยม 12 ประการ คสช. คล้ายหลักธรรมะ แนะเหมาะกับฟื้นจริยธรรมให้สังคมในขณะนี้ แล้วค่านิยม 12 ประการของ คสช. มีอะไรบ้าง มาดูกัน 

           

           หลังจากที่ทาง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. ได้มอบค่านิยม 12 ประการ ให้ทุกหน่วยทหาร กำลังพล และครอบครัว เพื่อให้ยึดถือและปฏิบัติตาม เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามให้กับสังคมไทย พร้อมกับให้สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการ ไว้ในหลักสูตรทหาร รวมถึงให้รณรงค์เผยแพร่ค่านิยมนี้อย่างกว้างขวาง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา 



           ล่าสุด (18 สิงหาคม 2557) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย หรือ ว.วชิรเมธี ได้กล่าวในรายการเดินหน้าประเทศไทย ถึงเรื่อง "ค่านิยมหลักคนไทย เพื่อประเทศไทยเข้มแข็ง" ว่า นโยบายการสร้างค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. นั้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมะ ถือว่ามีความคล้ายเคียงกัน เพราะเป็นหลักจริยธรรมที่ทุกคนควรยึดถือและประพฤติปฏิบัติ ซึ่งตนมองว่าขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะฟื้นฟูค่านิยมเหล่านี้ให้กลับคืนสู่สังคมไทย 



           พระมหาวุฒิชัย กล่าวต่อว่า การสร้างค่านิมให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องปลูกฝังลงไปในรากฐานจิตใจของเด็กและเยาวชน โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ด้วย ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนและโรงเรียนก็ต้องร่วมปลูกฝังเช่นกัน ด้วยการ "อบรม บ่มเพาะ" เริ่มต้นจากการจุดประกายให้คนรับรู้ จากนั้นนำไปสู่การพัฒนาและต่อยอดจนกลายเป็นวัฒนธรรม

ขอบคุณแหล่งอ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/106808




ขอบคุณคลิป https://www.youtube.com/watch?v=GHXLyJ1DO_0

จากหลักคุณธรรม 12 ประการ ตัวอย่างการวิเคราะห์หลัก     ค่านิยม 12 ประการ จากครูลิลลี่ 


สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ที่รัก ไทยรัฐออนไลน์ครั้งนี้คุณครูลิลลี่ขอเริ่มต้นด้วยค่านิยม 12 ประการที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่าฮอตฮิตถึงขนาดมีการเอาไปทำสติกเกอร์ไลน์ สำหรับใช้ในการส่งข้อความทางโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กกันเลยทีเดียว ซึ่งขณะที่คุณครูลิลลี่เขียนต้นฉบับครั้งนี้แว่วว่ามีประชาชนสนใจโหลดเอาสติกเกอร์ดังกล่าวไปใช้แล้วเกือบ 10 ล้านคนเลยทีเดียว แต่เรื่องความโด่งดังของสติกเกอร์ไลน์ค่านิยม 12 ประการคงไม่ใช่สิ่งที่คุณครูลิลลี่จะนำมาพูดถึงในครั้งนี้นะคะ แต่ที่มาในครั้งนี้คือต้องการมาบอกเล่าเรื่องของภาษาไทยในเรื่องที่เกี่ยวกับเครื่องมือขัดเกลาทางสังคมที่เชื่อว่าเราๆ ท่านๆ น่าจะเคยผ่านหูผ่านตาหรือเคยเรียนกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เราอาจจะคุ้นมากสุดกับคำว่า ค่านิยม แต่จริงๆ ยังมีคำไทยอีกหลายคำที่อยู่ในหมวดหมู่ของการขัดเกลาทางสังคม ตามครูลิลลี่ไปดูกันค่ะ
คำแรกคือคำว่า บรรทัดฐาน คำนี้ คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่สังคมกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิกในสังคมยึดถือและปฏิบัติ บรรทัดฐานยังแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ วิถีประชา หรือ วิถีชาวบ้าน อันนี้เป็นแนวทางปฏิบัติของบุคคลในสังคมที่ปฏิบัติอยู่โดยทั่วไปจนเป็นปกติ จนเกิดความเคยชิน ไม่ได้เกิดจากถูกบีบบังคับด้วยกฎหมาย แต่ถ้าใครไม่ปฏิบัติตาม อาจจะถูกตำหนิจากสังคมได้ อันที่สอง คือ จารีต จารีตเป็นระเบียบแบบแผนที่สมาชิกในสังคมต้องถือปฏิบัติ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้สึกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด โดยมีศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าสมาชิกในสังคมไม่ปฏิบัติตามจารีต จะถูกคนในสังคมรังเกียจ และได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม เช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ ความซื่อสัตย์ระหว่างคู่สามี ภรรยา เป็นต้น บรรทัดฐานอันสุดท้ายคือ กฎหมาย หมายถึง บทบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารบ้านเมือง ที่กำหนดให้ประชาชนปฏิบัติ และมีบทลงโทษด้วยว่า ถ้าทำผิดกฎหมายแต่ละอย่างจะได้รับโทษสถานใดบ้าง
สังเกตดีๆ บรรทัดฐานจะไล่ระดับความเข้มข้นขึ้นมาเรื่อยๆ นั่นเองค่ะ
แล้วบรรทัดฐานต่างกับค่านิยมอย่างไร ไปดูกันค่ะ คำว่า ค่านิยม หมายถึง แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมยึดถือเป็นเครื่องตัดสินใจและกำหนดการกระทำของตนเอง มีทั้งค่านิยมที่ควรปลูกฝังและค่านิยมที่ไม่ควรปฏิบัติหรือควรยกเลิก แต่ถ้าเป็นคำว่า “ความเชื่อ” อันนั้นจะเน้นไปที่สิ่งที่พูดถึงความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมที่ยึดมั่น และยอมรับในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ เช่น เชื่อเรื่องผีหรือเทวดา จิตวิญญาณ การระลึกชาติ เชื่อกฎแห่งกรรม เป็นต้น
อ่านไทยรัฐออนไลน์ของคุณครูลิลลี่มาถึงตรงนี้ คงจะพอมองเห็นความแตกต่างของเครื่องมือที่ใช้ขัดเกลาสังคมให้อยู่รวมกันอย่างมีความสุขนะคะ อย่างน้อยพอแยกแยะได้ พอเห็นความแตกต่างหรือพอเข้าใจบ้างก็ยังดี แต่ที่สำคัญที่สุด ปลูกฝังไว้นะคะ ค่านิยม 12 ประการ เพราะนั่นจะทำให้สังคมไทยเราอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขแน่นอนค่ะ สวัสดีค่ะ
instagram : krulilly
facebook : ครูลิลลี่
คุณครูลิลลี่

คุณครูลิลลี่
ขอบคุณข้อมูลตัวอย่าง http://www.thairath.co.th/content/475945

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น