วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณธรรม 12 ประการ



ค่านิยมหลักของคนไทย



ขอบคุณข้อมูล https://www.youtube.com/watch?v=KpJnjHxI8LI


ค่านิยมหลักของคนไทย
      ในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ   (คสช.) สัปดาห์ที่ ๗ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา   หัวหน้า คสช. ได้กล่าวว่า “น่าจะกำหนด “ค่านิยมหลักของคนไทย” ขึ้น   เพื่อสร้างประเทศไทยให้เข้มแข็ง ” ซึ่งได้รวบรวมไว้ ๑๒ ประการ   ดังนี้



๑) มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติในปัจจุบัน



๒) ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม


๓) กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์


๔)   ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทางตรงและทางอ้อม


๕)   รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม


๖) มีศีลธรรม รักษาความสัตย์   หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน


๗) เข้าใจ เรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง


๘)   มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่


๙) มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


๑๐)   รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จัดอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็นมีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่าย ขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อมโดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี


๑๑) มีความเข้มแข็ง ทั้งร่างกายและจิตใจไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา


๑๒) คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และต่อชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

จากหลักคุณธรรม 12 ประการ



ท่านว.วชิรเมธี เผย ค่านิยม 12 ประการ คสช. คล้ายหลักธรรมะ แนะเหมาะกับฟื้นจริยธรรมให้สังคมในขณะนี้ แล้วค่านิยม 12 ประการของ คสช. มีอะไรบ้าง มาดูกัน 

           

           หลังจากที่ทาง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. ได้มอบค่านิยม 12 ประการ ให้ทุกหน่วยทหาร กำลังพล และครอบครัว เพื่อให้ยึดถือและปฏิบัติตาม เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามให้กับสังคมไทย พร้อมกับให้สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการ ไว้ในหลักสูตรทหาร รวมถึงให้รณรงค์เผยแพร่ค่านิยมนี้อย่างกว้างขวาง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา 



           ล่าสุด (18 สิงหาคม 2557) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย หรือ ว.วชิรเมธี ได้กล่าวในรายการเดินหน้าประเทศไทย ถึงเรื่อง "ค่านิยมหลักคนไทย เพื่อประเทศไทยเข้มแข็ง" ว่า นโยบายการสร้างค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. นั้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมะ ถือว่ามีความคล้ายเคียงกัน เพราะเป็นหลักจริยธรรมที่ทุกคนควรยึดถือและประพฤติปฏิบัติ ซึ่งตนมองว่าขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะฟื้นฟูค่านิยมเหล่านี้ให้กลับคืนสู่สังคมไทย 



           พระมหาวุฒิชัย กล่าวต่อว่า การสร้างค่านิมให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องปลูกฝังลงไปในรากฐานจิตใจของเด็กและเยาวชน โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ด้วย ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนและโรงเรียนก็ต้องร่วมปลูกฝังเช่นกัน ด้วยการ "อบรม บ่มเพาะ" เริ่มต้นจากการจุดประกายให้คนรับรู้ จากนั้นนำไปสู่การพัฒนาและต่อยอดจนกลายเป็นวัฒนธรรม

ขอบคุณแหล่งอ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/106808




ขอบคุณคลิป https://www.youtube.com/watch?v=GHXLyJ1DO_0

จากหลักคุณธรรม 12 ประการ ตัวอย่างการวิเคราะห์หลัก     ค่านิยม 12 ประการ จากครูลิลลี่ 


สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ที่รัก ไทยรัฐออนไลน์ครั้งนี้คุณครูลิลลี่ขอเริ่มต้นด้วยค่านิยม 12 ประการที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่าฮอตฮิตถึงขนาดมีการเอาไปทำสติกเกอร์ไลน์ สำหรับใช้ในการส่งข้อความทางโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กกันเลยทีเดียว ซึ่งขณะที่คุณครูลิลลี่เขียนต้นฉบับครั้งนี้แว่วว่ามีประชาชนสนใจโหลดเอาสติกเกอร์ดังกล่าวไปใช้แล้วเกือบ 10 ล้านคนเลยทีเดียว แต่เรื่องความโด่งดังของสติกเกอร์ไลน์ค่านิยม 12 ประการคงไม่ใช่สิ่งที่คุณครูลิลลี่จะนำมาพูดถึงในครั้งนี้นะคะ แต่ที่มาในครั้งนี้คือต้องการมาบอกเล่าเรื่องของภาษาไทยในเรื่องที่เกี่ยวกับเครื่องมือขัดเกลาทางสังคมที่เชื่อว่าเราๆ ท่านๆ น่าจะเคยผ่านหูผ่านตาหรือเคยเรียนกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เราอาจจะคุ้นมากสุดกับคำว่า ค่านิยม แต่จริงๆ ยังมีคำไทยอีกหลายคำที่อยู่ในหมวดหมู่ของการขัดเกลาทางสังคม ตามครูลิลลี่ไปดูกันค่ะ
คำแรกคือคำว่า บรรทัดฐาน คำนี้ คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่สังคมกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิกในสังคมยึดถือและปฏิบัติ บรรทัดฐานยังแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ วิถีประชา หรือ วิถีชาวบ้าน อันนี้เป็นแนวทางปฏิบัติของบุคคลในสังคมที่ปฏิบัติอยู่โดยทั่วไปจนเป็นปกติ จนเกิดความเคยชิน ไม่ได้เกิดจากถูกบีบบังคับด้วยกฎหมาย แต่ถ้าใครไม่ปฏิบัติตาม อาจจะถูกตำหนิจากสังคมได้ อันที่สอง คือ จารีต จารีตเป็นระเบียบแบบแผนที่สมาชิกในสังคมต้องถือปฏิบัติ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้สึกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด โดยมีศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าสมาชิกในสังคมไม่ปฏิบัติตามจารีต จะถูกคนในสังคมรังเกียจ และได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม เช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ ความซื่อสัตย์ระหว่างคู่สามี ภรรยา เป็นต้น บรรทัดฐานอันสุดท้ายคือ กฎหมาย หมายถึง บทบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารบ้านเมือง ที่กำหนดให้ประชาชนปฏิบัติ และมีบทลงโทษด้วยว่า ถ้าทำผิดกฎหมายแต่ละอย่างจะได้รับโทษสถานใดบ้าง
สังเกตดีๆ บรรทัดฐานจะไล่ระดับความเข้มข้นขึ้นมาเรื่อยๆ นั่นเองค่ะ
แล้วบรรทัดฐานต่างกับค่านิยมอย่างไร ไปดูกันค่ะ คำว่า ค่านิยม หมายถึง แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมยึดถือเป็นเครื่องตัดสินใจและกำหนดการกระทำของตนเอง มีทั้งค่านิยมที่ควรปลูกฝังและค่านิยมที่ไม่ควรปฏิบัติหรือควรยกเลิก แต่ถ้าเป็นคำว่า “ความเชื่อ” อันนั้นจะเน้นไปที่สิ่งที่พูดถึงความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมที่ยึดมั่น และยอมรับในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ เช่น เชื่อเรื่องผีหรือเทวดา จิตวิญญาณ การระลึกชาติ เชื่อกฎแห่งกรรม เป็นต้น
อ่านไทยรัฐออนไลน์ของคุณครูลิลลี่มาถึงตรงนี้ คงจะพอมองเห็นความแตกต่างของเครื่องมือที่ใช้ขัดเกลาสังคมให้อยู่รวมกันอย่างมีความสุขนะคะ อย่างน้อยพอแยกแยะได้ พอเห็นความแตกต่างหรือพอเข้าใจบ้างก็ยังดี แต่ที่สำคัญที่สุด ปลูกฝังไว้นะคะ ค่านิยม 12 ประการ เพราะนั่นจะทำให้สังคมไทยเราอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขแน่นอนค่ะ สวัสดีค่ะ
instagram : krulilly
facebook : ครูลิลลี่
คุณครูลิลลี่

คุณครูลิลลี่
ขอบคุณข้อมูลตัวอย่าง http://www.thairath.co.th/content/475945

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงาน ที่2 What 's Blog บล็อคคืออะไร?







Blog คืออะไร   


       Blog เป็นคำรวมมาจากศัพท์คำว่า เว็บล็อก (WeBlog) สามารถอ่านได้ว่า We Blog หรือ Web Log ไม่ว่าจะอ่านได้อย่างไรทั้งสองคำนี้ก็บ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่าคือบล็อก (Blog)
          คำว่า "บล็อก" สามารถใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์" ซึ่งใช้เป็นชื่อาชีพเลยก็ว่าได้ ในสังคมปัจจุบัน


 ความหมายของ Blog ? 



               บล็อก คือรูปแบบหนึ่งของเว็บไซต์ เป็นการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของบล็อกนั้นสามารถครอบคลุมได้ทุกเรื่อง มีเนื้อหาได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัวที่สามารถเรียกได้ว่า ไดอารีออนไลน์ หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่างๆ สามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้าน เช่น สิ่งแวดล้อม การเมือง เทคโนโลยี กีฬา ธุรกิจการค้า เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่างๆ อีกมากมาย ตามความถนัด ความสนใจของเจ้าของบล็อก เพราะสิ่งสำคัญที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อกนั่นเอง
          บล็อกถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ที่ลำดับแรกสุด โดยปกติบล็อกจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงค์ และสื่อชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลง วิดีโอ หรือสื่ออื่นๆ ที่สามารถแสดงผลผ่านเว็บไซต์ได้

          จุดเด่น-ข้อแตกต่างของบล็อค

                  จุดแตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายผ่านทางระบบการแสดงความคิดเห็น (Comment) ของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที บล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มเพื่อนๆ หรือครอบครัว
Blogger เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คุณต้องการในลักษณะของ blog หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นบริการที่ให้คุณสามารถมีเว็บไซต์ส่วนตัวโดยไม่มีค่าใช้จ่ายก็ได้  สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่ายblogger สามารถช่วยคุณได้ หากคุณต้องการใช้  blogger เพียงแค่สมัคร Gmail https://mail.google.com/mail/u/0/?pli=1#inbox ก็สามารถสร้าง blog ได้อย่างมากมาย (สมัคร Gmail เพียง Account เดียว สามารถสร้าง blogger ได้หลาย blog) 

นอกจากนี้การสร้าง blog ด้วย blogger นั้นเชื่อมโยงพื้นที่เก็บรูปภาพเข้ากับ picasa ซึ่งเป็นบริการด้านภาพถ่าย ทำให้คุณมีพื้นที่เขียนblogและพื้นที่เก็บรูปภาพที่สัมพันธ์กันสำหรับรูปแบบของชื่อจะมีลักษณะดังนี้ http://android-apps24.blogspot.com/ ซึ่งจะเห็นว่าไม่มี www และด้านหลังชื่อจะมี .blogspot.com 

              blogger นั้นมีเทมเพลท (Template) ให้คุณเลือกใช้งานอยู่พอสมควร ทำให้ลดระยะเวลา และขั้นตอนในการออกแบบไปได้มากทีเดียว แต่ถึงแม้จะเป็นเทมเพลท คุณก็ยังสามารถปรับแต่งเทมเพลตได้ละเอียดเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นความกว้าง สีที่ใช้กับส่วนต่าง ๆ ขนาดตัวอักษร หรือแม้จะเป็นการกำหนดจำนวนคอลัมน์ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน นอกจากนี้หากคุณมีความเข้าใจภาษา HTML คุณจะสามารถปรับแต่ง blogger ได้ละเอียดมากขึ้น หรือมีความสวยงามเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

การเขียนเนื้อหาของ blogger นั้นมีเครื่องมือในการเขียนบทความเหมือนกับชุดเครื่องมือในโปรแกรมประมวลผลคำต่าง ๆ เช่น จัดตำแหน่งข้อความ, แทรกรูปภาพ, ปรับแต่งตัวอักษรเป็นต้น เรียกได้ว่าเมื่อคุณลงมือเขียนบทความ คุณจะรู้สึกเหมือนใช้โปรแกรมประมวลผลคำในการพิมพ์เอกสาร ซึ่งช่วยให้คนที่ไม่มีความรู้ในการเขียน Source Code สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น



Web blog ทำอะไรได้บ้าง
  1. ทำเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว
  2. เขียนเรื่องราวต่าง ๆ และแบ่งปันให้กับผู้อื่น
  3. หารายได้กับ google เช่น การเขียนบทความ และนำโฆษณาของ google มาติดลง webblog ของตนเอง
  4. ทำธุรกิจที่เรียกว่า E-commerce
  5.  Blog ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก Internet Marketing
  6. อื่นๆ เช่น การนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน เป็นสื่ออย่างหนึ่งบนโลกอินเทอร์เน็ต
ส่วนประกอบของ Blog





          บล็อกประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ     




          1. หัวข้อ (Title) 




          2. เนื้อหา (Post หรือ Content) 




          3. วันเวลาที่เขียน (Date/Time)

Blog กับ Website ต่างกันอย่างไร? 

          - เว็บไซด์ทั่วๆไปนั้น จำเป็นต้องมี Server, มี Host มี Domain Name เป็นของตนเอง ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของ Blog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้แบบฟรี เพียงแต่เราต้องใช้ชื่อ Domain ของผู้ให้บริการนั้นๆ เช่นของ Google คือ Blogger.com - โดเมนเนม ก็จะเป็น "ชื่อBlogของคุณ" ต่อท้ายด้วย  "blogspot.com" เช่น  
 JoJho-Problog.blogspot.com
          - เว็บไซด์ทั่วไปจะมีความยืดหยุ่นสูงในการออกแบบ ดีไซน์ เพราะเราต้องสร้างเองทั้งหมด (ดังนั้นจะเลือกดีไซน์ยังไงก็ได้)
          - แต่ Blog จะมีการดีไซน์ในรูปแบบเฉพาะเรียกว่า Blog Template ซึ่งมีให้เลือกมากมาย แต่ยังคงมีลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้มากตามใจชอบอย่างเว็บไซด์
          - การสร้างเว็บไซด์ จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากพอสมควร ทั้งในส่วนของภาษาคอมพิวเตอร์, โปรแกรมคอมติวเตอร์ต่างๆ ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ Network เป็นต้น 


ข้อดีและข้อเสียของ Blog

ข้อดี
   - มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
   - เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
   - ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ
   - หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้
เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
   - สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
   - สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้
   - ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
   - มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
   - Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก

ข้อเสีย
   - ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
   - แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
   - เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส


ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)

การสมัคร Blogger

          การสมัครใช้บริการ Blogger ในปัจจุบันนี้ทำได้ง่ายมาก ๆ สำหรับกรณีที่ยังไม่มี Gmail ให้สมัครตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ได้เลย โดยจะเห็นว่าขั้นตอนการสมัครนั้นเป็นแบบฟอร์มเดียวกับการสมัคร Gmail นั่นเอง เริ่มจากเข้าสู่เว็บไซต์โดยพิมพ์ www.blogger.com

                                  
1. คลิกปุ่ม "สมัครใช้งาน"
2.กรอกข้อมูลและรายละเอียดตามภาพด้านล่างประกอบด้วย

ชื่อ : เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

เลือกชื่อผู้ใช้ : ส่วนนี้จะนำไปเป็นชื่อที่ใช้สำหรับเข้าสู่ระบบ และเป็นชื่อ Email ของคุณ ส่วนนี้แนะนำให้เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์เล็ก

รหัสผ่าน : ตั้งรหัสผ่านสำหรับใช้เข้าสู่ระบบประกอบด้วยตัวเลขผสมกับตัวอักษรภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 8 ตัว

วันเกิด : คลิกเลือกวัน และเดือนเกิด สำหรับปีเกิดให้ใส่เป็นปี ค.ศ.
เพศ : คลิกเลือกเพศของคุณ
โทรศัพท์มือถือ : เมื่อเราใส่เบอร์โทรศัพท์มือถืออาจมีการยืนยันโดยการโทรศัพท์เข้าหาเบอร์ของคุณ หรือจะเลือกส่งรหัสลับเป็น SMS ก็ได้ เป็นขั้นตอนที่ทำให้บัญชี Email ของคุณมีความปลอดภัยมากขึ้น
ที่อยู่อีเมลปัจจุบันของคุณ : หากไม่มีก็ไม่ต้องใส่


3.พิสูจน์อักษร : พิมพ์ตัวอักษรตามที่คุณมองเห็นลงไป

สุดท้ายคลิกเลือกฉันยอมรับข้อกำหนดในการให้บริการ แนะนโยบายส่วนบุคคลของ Google เสร็จเรียบร้อยคลิกขั้นตอนต่อไป
4.ปรากฏขั้นตอนสำหรับใส่รูปภาพให้กับข้อมูลส่วนตัวของคุณ หากไม่ต้องการ คลิกขั้นตอนถัดไป

5.เข้าสู่หน้าต้อนรับตามภาพด้านล่างแสดงว่าคุณสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นคลิกปุ่มกลับไปที่ Blogger


6.ในหน้านี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสมัครปุ่ม ดำเนินการต่อไปยังบล็อกเกอร์ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


               หลังจากสร้างบล็อกเสร็จเรียบร้อยแล้ววิธีการปรับแต่งค่าเริ่มต้นให้กับบล็อกค่าเริ่มต้นหรืออะไร ค่าเริ่มต้นคือค่าที่คุณปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณนั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมากซึ่งจะนำเสนอเป็นระยะ เพื่อให้คุณสามารถใช้งาน Blogger ได้เต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง 

เริ่มจากเข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ของคุณ หากคุณสร้างบล็อกเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะเห็นบล็อกปรากฏอยู่ตามภาพด้านล่าง สำหรับบล็อกที่ผมสร้างเอาไว้ชื่อว่า Joomla2.5 เราจะเริ่มปรับแต่งกันโดยคลิกไปที่ชื่อบล็อก Joomla2.5 นั่นเอง

จะปรากฏหน้าเว็บเพจสำหรับการปรับแต่งขึ้นมากให้ดูรายละเอียดที่เมนูทางด้านซ้ายของหน้าจอเป็นหลักก่อนจากนั้นเริ่มการตั้งค่า



  
เพิ่มคำอธิบายภาพ



หลังจากคลิกแล้วที่หน้าเว็บเพจทางด้านขวาก็จะมีรายละเอียดปรากฏขึ้นมา จากตัวอย่าง เลือกที่จะปรับแต่งในส่วนนี้เป็นตัวอย่าง

 คลิกที่ แก้ไข



จากนั้นก็พิมพ์คำอธิบายลงไป จากตัวอย่างพิมพ์ นำเสนอบทความ Joomla2.5 เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วคลิก บันทึกการเปลี่ยนแปลง 

จะเห็นว่าคำอธิบาย ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเรียบร้อยแล้ว


การสร้าง Blog ใหม่

1.หลังจากที่เข้าสู่ระบบด้วยบัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่านของเสร็จเรียบร้อยแล้ว มองหาปุ่ม "บล๊อกใหม่" จะได้หน้าต่างสำหรับกรอกข้อมูลเพียงเล็กน้อย และเลือกtemplate ที่ต้องการ 



2.ตัวอย่างการกรอกข้อมูลสำหรับการสร้าง Blog ใหม่ สำหรับที่อยู่ของ Blog ยังมีการตรวจชื่อเหมือนเดิม หากใช้ไม่ได้ Bloggerก็จะแจ้งให้เราทราบทันที


3.เมื่อเลือกชื่อที่ต้องการและชื่อนั้นยังไม่มีผู้ใช้งาน จะปรากฏข้อความตามรูปภาพด้านล่าง


4.และเมื่อกดปุ่ม สร้างบล๊อก เป็นอันเสร็จเรียบร้อย โดยจะแสดงรายละเอียดตามรูปภาพด้านล่าง


การสร้างบทความใหม่ใน Blogger 

            หากคุณคือผู้เริ่มต้นอยากให้คุณเข้าใจว่าการสร้างบทความคือการสร้างหน้าเว็บเพจนั่นเอง blogger นั้นออกแบบเครื่องมือสำหรับเขียนบทความให้คุณสามารถสร้างบทความได้อย่างง่ายดาย เหมือนกับการใช้โปรแกรมสร้างเอกสารทั่ว ๆ ไป เรามาดูวิธีการสร้างบทความกัน

1.เริ่มจากเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีผู้ใช้ของคุณ จะปรากฏรายละเอียดต่าง ๆ ของ blogger ขึ้นมา คลิกที่ชื่อบล็อก ที่ต้องการเขียนบทความเพิ่มเข้าไป


2.ดูบริเวณเมนูด้านซ้าย คลิกปุ่ม บทความใหม่ 

3.แสดงหน้าเว็บเพจสำหรับสร้างบทความใหม่ขึ้นมา ประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ในการเขียนบทความ และพื้นที่สำหรับเขียนบทความ คุณสามารถพิมพ์ข้อความ แทรกรูปภาพ จัดรูปแบบข้อความได้ตามต้องการ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม บันทึก (บทความจะยังไม่ถูกแสดงในหน้าแรก) หากต้องการให้บทความแสดงในหน้าแรกต้องคลิกที่ปุ่ม เผยแพร่ ในการสร้างบทความใหม่นี้ คุณสามารถโพสบทความจาก blogger ของคุณไปยัง Google+ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว


การแทรกรูปภาพลงใน blog

ส่วนประกอบที่มีความสำคัญสำหรับเนื้อหาของ blogger คือรูปภาพ เพราะรูปภาพสามารถช่วยเพิ่มเติมให้เนื้อหาดีขึ้น และทำให้ข้อมูลที่อาจจะคลุมเคลือมีความชัดเจนมากขึ้น โดยรูปภาพที่เหมาะสมกับการสร้างเว็บไซต์ หรือบล็อกนั้น แนะนำให้ใช้ไฟล์รูปภาพที่มีนามสกุล .png หรือ .gif เป็นต้น สำหรับวิธีการแทรกรูปภาพลงในบทความมีดังต่อไปนี้

1.ขณะนี้คุณต้องอยู่ในหน้าสำหรับสร้างบทความใหม่ จากนั้นคลิกที่เครื่องมือ แทรกรูปภาพ ตามภาพด้านล่าง
          2. ปรากฏหน้าต่างสำหรับเลือกไฟล์ขึ้นมา คลิกปุ่ม เลือกไฟล์


3.แสดงหน้าต่างสำหรับเลือกไฟล์ขึ้นมา คลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการ และคลิก Open (หากคุณสร้างโฟลเดอร์แยกไฟล์รูปภาพเป็นหมวดหมู่ก็จะช่วยให้การค้นหาไฟล์รูปภาพง่ายขึ้น )


4.รอสักครู่จะปรากฏรูปภาพที่เราเลือกอยู่ในหน้าต่าง เลือกไฟล์ คลิกปุ่มเพิ่มรายการที่เลือก


5.เพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มรูปภาพลงในบทความเรียบร้อยแล้ว

การแทรกวิดีโอลงใน Blog

1.หลังจากเข้าสู่ระบบและ คลิกปุ่มบทความใหม่ (เพื่อสร้างบทความ) เสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่มแทรกวีดีโอตามภาพด้านล่าง
2.แสดงหน้าต่างเลือกไฟล์ขึ้นมา คุณสามารถแทรกวีดีโอได้หลายลักษณะในบทความนี้ เลือก                  จาก YouTube


3.สำหรับรายละเอียดในการแทรกวีดีโอจาก YouTube มีดังต่อไปนี้ พิมพ์ชื่อวีดีโอลงในช่องค้นหา จากนั้นคลิกปุ่มค้นหา (แว่นขยาย) เมื่อแสดงรายชื่อวีดีโอขึ้นมา คลิกเลือกวีดีโอที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก วีดีโอจาก YouTube ก็จะถูกแทรกลงในบทความของเรียบร้อยแล้ว


 การสร้างลิงก์ หรือ (Hyperlink) ในBlog

1.เริ่มจากคลิกเมาส์ลากคลุมข้อความที่ต้องการสร้างลิงก์ จากภาพด้านล่างจะเห็นว่าผมได้ทำการลากคลุมข้อความที่เขียนว่า คลิกที่นี่



2.คลิกเครื่องมือ ลิงก์ ตามภาพด้านล่าง
3.ปรากฏหน้าต่าง แก้ไขลิงก์ ขึ้นมา พิมพ์ หรือ คัดลอก ที่อยู่เว็บไซต์ที่ต้องการทำลิงก์ ลงในช่อง ที่อยู่ทางเว็บ จากภาพด้านล่างผมพิมพ์ http://www.ninetechno.com/a/blogger.html ห้ามพิมพ์ผิด หรือคัดลอกตกหล่น เนื่องจากจะทำให้ลิงก์นั้นไม่สามารถเชื่อมโยงได้ ซึ่งเรามักเรียกว่าลิงก์เสีย เมื่อเสร็จเรียบร้อยคลิกปุ่ม ตกลง


4. จะเห็นคำว่า คลิกที่นี่ ได้เปลี่ยนจากตัวอักษรธรรมดา เป็น ลิงก์ เรียบร้อยแล้ว



 ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.ninetechno.com/a/blogger/361-register-blogger.html
                             http://www.thaigoodview.com/node/81542

ตัวอย่างคลิป การสร้าง Blog





ขอบคุณสำหรับการรับชม