วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่6 เรื่อง ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ


9 วิชาสามัญคืออะไร 



9 วิชาสามัญ คืออะไร และต้องสอบทั้ง 9  วิชามั้ย

        สทศ. บอกมาว่าเป็นข้อสอบที่ยากกว่า O-NET แต่ง่ายกว่า GAT PAT จัดทำขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตที่สมัยก่อนหากเด็ก ม.6 สมัครรับตรง 5 ที่ ก็ต้องวิ่งหัวฟูไปสอบ 5 ครั้ง แต่หากเป็นปีนี้สบายมาก ไม่ว่าจะสมัครกี่ที่ ก็สอบแค่ครั้งเดียวจบ คือ สอบ 7 วิชาสามัญครั้งเดียว ชุดเดียว ทั่วประเทศจบไปเลย โดย 9 วิชาสามัญนี้แต่ละคณะจะสอบไม่เท่ากันนะครับ บางคณะก็สอบหมด 7 วิชา บางคณะก็สอบแค่ 3 ดังนั้น น้องๆ ต้องไปดูในระเบียบการรับตรงแต่ละมหาวิทยาลัย ว่าคณะที่เราจะเข้า เขาได้มากำหนดให้สอบวิชาไหน ส่วนมหาวิทยาลัยไหนไม่กำหนด ก็ไม่ต้องสอบก็ได้


9 วิชาสามัญ กำแพงที่รอให้ปีนข้ามเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

     9 วิชาสามัญ คือการสอบตรงเข้าสู่มหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อสอบกลาง แต่ยื่นคะแนนตรงกับมหาวิทยาลัย ใครยังไม่รู้จักระบบการสอบแอดมิชชันส์และการรับตรง ให้อ่านที่นี่นะครับ พี่โอเล่เขียนเอาไว้ในเว็ป admission.in.th ละเอียดมากๆ 
ปีก่อนหน้านี้เจ้าระบบสอบตรงโดยใช้ข้อสอบกลางอันนี้เคยมีชื่อว่า “7 วิชาสามัญ” มาก่อน โดยปีนี้ก็ได้อัพเกรดตัวเอง เพิ่มวิชาเข้ามาสองวิชาคือ คณิตศาสตร์ของสายศิลป์ และวิทยาศาสตร์พื้นฐานของสายศิลป์ครับ ทำให้ 9 วิชาสามัญมีจำนวนวิชาที่ใช้สอบดังนี้
1.วิชาภาษาไทย
2.วิชาสังคมศึกษา
3.วิชาภาษาอังกฤษ
4.วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
5.วิชาฟิสิกส์
6.วิชาเคมี
7.วิชาชีววิทยา
8.วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
9.วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา)

ใครต้องสมัครบ้าง?

คนที่สมัครได้คือ น้องๆ ม.6 ปวช. กศน. หรือพี่ๆ เด็กซิ่ว พ่อแม่ที่จบสูงกว่า ม.6 ขึ้นไป

มหาวิทยาลัยไหนต้องใช้คะแนน 9 วิชาสามัญบ้าง
 
        มีประมาณ 7 แห่ง ยกตัวอย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะอักษรศาสตร์ – คณะนิติศาสตร์ – คณะเศรษฐศาสตร์ – คณะวิทยาศาสตร์ – คณะครุศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร (คณะอักษรศาสตร์ – คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร – คณะวิทยาการจัดการ – คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร – คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม – คณะวิทยาศาสตร์ – คณะศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะสหเวชศาสตร์) รับตรง กสพท. (คณะแพทยศาสตร์ – คณะทันตแพทยศาสตร์) และยังมีอีกหลายวิทยาลัย อย่าลืมไปเช็คที่เว็บมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วย


r1

สมัครที่ไหน อย่างไร
 
        ขั้นตอนการสมัคร จะเหมือนกันกับสมัคร GAT PAT เลยครับ มีให้เลือกสนามสอบ ระบบจะเปิดให้สมัครตั้งแต่วันที่ 1 – 20 ตุลาคม 58  และสอบ ใน26-27 ธ.ค. 58 ส่วนค่าสมัครวิชาละ 100 บาทคร้าบ อ๋อๆ สนามที่ใช้สอบเบื้องต้นมี 4 ศูนย์ คือ กรุงเทพฯ (สนามสอบจุฬาฯ ธรรมศาสตร์) ขอนแก่น (ม.ขอนแก่น) เชียงใหม่ (ม.เชียงใหม่) พิษณุโลก (ม.นเรศวร) และสงขลา (มอ.หาดใหญ่) ซึ่งหากมียอดผู้สมัครมาก ทาง สทศ.อาจเพิ่มสนามสอบให้ครับ รอติดตามๆ ว่าแล้วก็ไปสมัครกันเลยที่ เว็บ  www.niets.or.th


20121010111114

20121009171700





ตัวอย่างข้อสอบ 7 วิชาสามัญ 

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2555 (สอบ ม.ค. 2555)

           - คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่
           ฟิสิกส์ + เฉลย คลิกที่นี่
           เคมี + เฉลย คลิกที่นี่
           ชีววิทยา คลิกที่นี่
           ภาษาไทย คลิกที่นี่
           สังคมศึกษา คลิกที่นี่
           ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2556 (สอบ ม.ค. 2556)

           คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย ตอนที่ 1 คลิกที่นี่ ตอนที่ 2 คลิกที่นี่
           ฟิสิกส์ + เฉลย คลิกที่นี่
           เคมี คลิกที่นี่
           ชีววิทยา คลิกที่นี่ 
           ภาษาไทย คลิกที่นี่
           สังคมศึกษา คลิกที่นี่
           ภาษาอังกฤษ + เฉลย คลิกที่นี่

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2557 (สอบ ม.ค. 2557)

           คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่
           ฟิสิกส์ คลิกที่นี่
           เคมี คลิกที่นี่  + เฉลย คลิกที่นี่
           ชีววิทยา คลิกที่นี่
           ภาษาไทย คลิกที่นี่ 
           สังคมศึกษา คลิกที่นี่
           ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่
 ขอบคุณข้อมูล : http://p-dome.com/7-w-55-57/
ขอบคุณข้อมูล : https://www.02dual.com/admission_news/363/






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น